ใครเจอกันครบแล้วถือว่าคุณคือผู้โชคดีที่ควรแค่แก่การได้รับโชคเทียบเท่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มาดูกันว่าคุณเจอไปแล้วกี่ตัวและปัจจุบันมีการรณรงค์สัตว์อีก 4 ตัวให้ขึ้นชื่อเป็น สัตว์สงวน คือ 1.ฉลามวาฬ 2.เต่ามะเฟือง 3.วาฬบรูด้า 4.วาฬโอมูระ ซึ่งยังไม่มีการอนุมัติที่แน่นอนจากกรมประมง จึงทำได้เพียงชะลอไว้ก่อนเท่านั้นเอง
1.ฉลามวาฬ (Whale shark - 1ในว่าที่สัตว์สงวน)
สัตว์คู่บ้านคู่เมืองแห่งท้องทะเลไทยที่ใครๆก็เฝ้าอยากเจอสักครั้งในชีวิตเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงตอน ซึ่งสามารถเจอบ่อยๆได้ในทะเลไทยทั้ง 2 ฝั่งของไทยทั้งปีในไทยที่พบบ่อยๆเช่นกองหินริชิริว กองหินชุมพร เกาะบอน หินแดงหินม่วง
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌔
2.ปลากระเบนราหู (Manta ray)
สัตว์คู่บ้านคู่เมืองแห่งท้องทะเลไทยอีก1ชนิดที่ใครๆเฝ้ารอการว่ายน้ำเล่นไปพร้อมๆกับมัน ด้วยปีกที่สยายว่ายอย่างช้าๆ คำว่า manta ภาษาสเปนแปลว่าผ้าห่ม เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กก. อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆแนวประการัง ที่พบบ่อยๆเกาะบอน และหมู่เกาะสิมิลัน
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌓
3.ฉลามหัวค้อน (Hammerhead shark)
เป็นฉลามที่มีหน้าตาเเปลกจำพวกหนึ่ง มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย มีขนาดลำตัวไม่เกิน 1.5 เมตร ส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่พบในน่านน้ำทางอ่าวไทย
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌓
4.ฉลามเสือดาว (Leopard shark)
เป็นสัตว์ชนิดหนุ่งที่ใกล้สูญพันธ์ โดยลักษณะปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสทอดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณอันดามันมากกว่าอ่าวไทย
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌓
5.กระเบนท้องน้ำหรือโรนิน (Bowmouth guitarfish)
นินจาแห่งมหาสมุทร ปลาโรนินเป็นปลาหายากในกลุ่มปลากระเบน จัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างลึกลับในช่วงหลังมีคนนิยมเอามาทำเป็นเครื่องประดับ ทำให้ทางประมงประกาศเป็นสัตว์คุ้มครอง มีรูปร่างแตกต่างไปคล้ายกับปลาโรนัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันตัว โดยมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม สามารถพบเจอได้บริเวณทางใต้ของอ่าวไทย หรือเกาะโลซิน
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌒
6.นูดี้ปิกาจู (Thecacera Pacifica)
ซึ่งเป็นสายพันธ์หนึ่งของปลิงทะเล และสามารถพบได้ที่มหาสมุทรอินเดีย จากชายฝั่งแอฟริกาไปจนถึงอินโดนีเซีย และวานูอาตู ตัวเจ้านี่จะเป็นสีฟ้าผสมดำ และสีเหลือง ดูแล้วก็เหมือนกับปิกาจูในเกมส์ บางคนบอกว่ามันดูเหมือนดอกไม้ทะเล แต่ไม่ใช่เลยจริงๆ มันคือปลิงและที่เห็นสวยๆ แบบนี้มันก็มีพิษในตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าใครได้บังเอิญไปพบเจอมันก็ไม่สามารถใช้โปเกบอลหรือมือเปล่าจับมาเล่นได้นะ
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑
7. เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle - 1ในว่าที่สัตว์สงวน)
ที่เป็นข่าวมาไม่นานนี้และยังคงมาเรื่อยๆสำหรับเต่ามะเฟืองที่ขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดในจังหวัดพังงา โดยสังเกตุง่ายๆเต่ามะเฟืองจะมีกระดองคล้ายผลไม้ลูกมะเฟือง เป็นเต่าทะเลจัดเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑
8.ฉลามพยาบาล (Nurse shark)
หรือฉลามขี้เซาเป็นฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นน้ำในความลึกไม่เกิน 70 เมตร ใช้เวลาหากินในเวลากลางคืน และนอนหลับตามโพรงถ้ำหรือกองหินในเวลากลางวัน เป็นปลาที่มักจะอยู่นิ่ง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งบางครั้งอาจพบรวมตัวกันได้นับสิบตัว ในน่านน้ำไทยจะพบได้มากที่ฝั่งทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาหน้าดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้แถบอินโด-แปซิฟิก เนื่องจากมีความยาวได้ถึงเกือบ 4 เมตร เป็นปลาที่ไม่ทำอันตรายมนุษย์
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌓
9.ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Ghost pipe fish)
มีจะงอยปากยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย มีติ่งสั้น ๆ ทั่วทั้งตัว ครีบมีขนาดใหญ่ และมีขอบเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวค่อนข้างใส มีสีสันหลากหลาย ทั้งสีแดง, ขาวสลับดำหรือเหลือบสีอื่น ๆ โดยปรับเปลี่ยนสีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัยมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 8 ซม. มักพบในแนวปะการังที่เขตน้ำลึก และมักลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เพื่อแฝงตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยเอาส่วนหัวทิ่มลงพื้น ปลาจิ้มฟันจระเจ้ปีศาจ เป็นปลาที่พบได้น้อยมาก ในน่านน้ำไทยอาจพบได้ที่หมู่เกาะสิมิลัน และกองหินริชิริว
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌓
10.ปลากบ (Frog fish)
เป็นปลาในตระกูลปลาตกเบ็ดพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรเขตร้อน ขนาดเท่านิ้วมือเท่านั้นเอง เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสั้นตัวหนาและมีครีบและสีตัวที่ใช้ในการพลางตัวได้ดีและบางชนิดสามารถเปลียนสีได้ปลากบนั้นปกติจะอยู่บริเวณพื้นทะเลที่มีสาหร่ายซาร์กัสซัมจึงทำให้มันมีอีกชื่อนึงว่าปลาซาร์กัสซัมโดยปกติพวกมันจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นขึ้นตามลำตัวจึงทำให้สามารถพลางตัวได้ดีและมันยังเคลื่อนที่ช้าๆหรือการล่อเหยือเพื่อจะได้พลางตัวได้อย่างแนบเนียนและเมื่อมีเหยือเข้ามาใกล้พวกมันก็จะพุ่งกระโจนเข้าหาเหยือและงับอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 6 มิลลิวินาทีเท่านั้น (ไม่ถึงวิ!!)
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌒
11.ปลาปักเป้ากล่อง (Box fish)
ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ จะมีรูปทรงป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปทรงและการเคลื่อนไหวจะมีความคล่องแคล่วกว่าปลาปักเป้าในวงศ์อื่น และมักจะมีขนาดเล็ก มีสีสันลวดลายสวยงาม
แถมยังมีพิษชนิดออสทราซิท็อกซิน (Ostracitoxin) ที่ผลิตขึ้นมาจากต่อมที่ผิวหนัง และสามารถขับออกมาพร้อมกับเมือกที่หุ้มตัวอยู่ ซึ่งสามารถละลายในน้ำ ซึ่งพิษชนิดนี้จะเป็นพิษกับปลาด้วยกัน ทำให้ปลาอื่นที่อยู่บริเวณเดียวกันเมื่อได้รับสารพิษตายได้ ซึ่งจะขับออกมาเมื่อได้รับความเครียดหรือตื่นตกใจ อันเป็นกลไกลหนึ่งในการป้องกันตัว เจอได้บ่อยๆในฝั่งทะเลอันดามัน
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑
12.เต่าทะเล (Sea turtle)
สามารถพบเจอได้ทั่วไปในสองฝั่งทะเลบ้านเรา ด้วยความไม่ได้หาเจอได้ยากแต่ทุกครั้งที่เจอต้องบอกว่านักดำน้ำทุกคนสามารถตกหลุมไปกับความน่ารักของมัน เพราะใครๆก็รักเต่าใช่มั้ยละ ยิ่งบริเวณทะเลเกาะสิมิลัน ถ้าคุณมีโอากาสได้ขึ้นเรือ liveaboard สักครั้งขอบอกเลยว่าเจอแน่นอน
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌔
13.ฉลามครีบดำ (Black tip shark)
มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการังมีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวและทะเลอันดามัน ซึ่งมีจุดเพาะพันธ์ที่หมู่เกาะสุรินทร์อีกด้วย
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌓
14.กุ้งการ์ตูนหรือกุ้งตัวตลก (Harlequin shrimp)
เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็ก มีลวดลายและสีสันสวยงามมีลักษณะลำตัวมีเปลือกแข็งขาว แต้มด้วยลายจุดสีฟ้าขนาดลำตัวยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตรพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือโพรงหินในน่านน้ำไทยจะพบมากบริเวณหมู่เกาะพีพีในเขตทะเลอันดามัน ส่วนถ้าใครมาที่กองหินริชิริวแล้วละก็มีโอกาสเจอถึง 90% เพราะมักจะอาศัยอยู่ตรงจุดเดิมๆเสมอ
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌒
15.ปลาไหลริบบิ้น (Ribbon eel)
ตัวนี้เป็นปลาไหลที่แอดมินชื่นชอบมากที่สุดเพราะเวลามันว่ายน้ำนั้นจะมีความสวยงามพริ้วไหวเหมือนริบบิ้นที่นักยิมนาสติกลีลาสลับควงให้เราเห็นนั่นเอง จัดเป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีสีสันสดใส และสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย นั้นคือเมื่อยังเล็ก ลำตัวเป็นสีดำ โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่เมื่อโตขึ้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินและเป็นตัวผู้และเมื่อมีอายุมากขึ้นอีกลำตัวเป็นสีเหลืองและกลายเป็นตัวเมีย ในน่านน้ำไทยก็พบได้น้อย โดยพบได้ทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะเต่า หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้นเป็นปลาที่สร้างสีสันให้แก่การดำน้ำ
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌔
16.ปลาดาว หรือ ดาวขนนก (Feather star)
สัตว์ทะเลจำพวกเอ็คไคโนเดิร์ม(Echinoderms) ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับดาวทะเล หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “ปลาดาว” ซึ่งความจริงมันไม่ใช่ปลาสักหน่อย และก็ไม่ได้มีส่วนคล้ายกับปลาเลยแม้แต่น้อย แต่ก็คงจะเป็นเพราะมันอาศัยอยู่ในท้องทะเล ชาวบ้านซึ่งไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเห็นหน้าตามันเป็นรูปเหลี่ยมๆ มีแฉกๆ คล้ายดาว จึงเรียกกันว่าปลาดาว สัตว์ทะเลจำพวกเอ็คไคโนเดิร์มนี้ก็มีด้วยกันหลายชนิดเช่น ดาวทะเล ดาวเปราะ เม่นทะเล และปลิงทะเล เป็นต้น
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌒
17.ปลาฉลามกบ หรือ ปลาฉลามปล้องอ้อย (Banded cat shark)
เป็นปลาฉลามขนาดเล็กที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินแต่พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร จากการที่เป็นปลาขนาดเล็กและสีสันที่สวยงามจัดเป็นปลาทะเลอีกชนิดหนึ่งที่(ฝรั่ง)นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ขนาดเมื่อโตเต็มที่ความยาวที่เคยพบสูงสุด คือ 121 เซนติเมตร
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌒
18.หมึกยักษ์นักพราง (Mimic octopus)
จุดเด่นของหมึกยักษ์นักพราง คือ มันจะฝังหนวด 6 หนวดไว้ในพื้นทราย โผล่ออกมาแค่ 2 หนวด ทำให้ดูคล้ายงูทะเลหมึกยักษ์นักพรางเป็นหมึกชนิดเดียวที่ออกหากินเวลากลางวัน สะท้อนว่ามันเชี่ยวชาญในการอำพรางตัวจากการรับรู้ของเหยื่อ ซึ่ง Phuket Marine Biological Center Research Bulletinว่า สามารถจับตัวได้ในอ่าวไทย ที่ผ่านมา หมึกยักษ์ชนิดนี้พบในน่านน้ำของอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑
19.ฉลามเสือ (Tiger shark)
เป็นฉลามที่ได้ชื่อว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือกเหมือนเช่นฉลามขาว เพราะมักเจอสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในกระเพาะเสมอ ๆ เช่น ยางรถยนต์, กระป๋องน้ำ, เศษไม้ หรือ พลาสติก ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์โยนทิ้งลงทะเลทั้งสิ้น ฉลามเสือนับได้ว่าเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยดุร้ายและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เลือก ในพื้นที่ทะเลของไทยนับได้ว่าเป็นปลาฉลามที่อาจทำร้ายมนุษย์หรือนักดำน้ำ เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 5 เมตร แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 7 เมตร
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑
20.ปลาแสงอาทิตย์ (Sunfish หรือ Mola Mola)
เป็นปลาที่มีรูปร่างประหลาด เนื่องจากมีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่จนดูคล้ายมีแต่เพียงหัวอย่างเดียว ขณะที่ส่วนครีบต่าง ๆ ถูกหดสั้นลง โดยส่วนครีบหลังมีขนาดใหญ่ตั้งยาวขึ้นไปข้างบน แลดูคล้ายครีบปลาฉลามยามเมื่ออยู่ผิวน้ำ
พูดได้ว่าโอกาสเจอปลาชนิดนี้ในไทยมีค่าเป็นศูนย์ก็ว่าได้ เพราะด้วยปกติปลาสายพันธ์นี้จะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างเย็นแต่ทั้งนี้ปลาแสงอาทิตย์ สามารถพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ซึ่งสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ เกาะบาหลีในอินโดนีเซีย แต่เมื่อปีที่ผ่านมามีนักดำน้ำที่สิมิลันบังเอิญเจอและสามารถถ่ายภาพเก็บเอาไว้ได้ ตัวมันใหญ่มากเลยใช่มั้ยละ
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑
21. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale- 1ในว่าที่สัตว์สงวน)
ชื่อของมันถูกตั้งให้ผู้ค้นพบมันเป็นคนแรก คือโยฮัน บรูด้า ในปี ค.ศ. 1909 มันถูกจัดว่าเป็นชนิดหนึ่งของวาฬไม่มีฟัน (Baleen Whale) ขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน มักอาศัยอยู่ในทะเลที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 16 องศาเซลเซียส เช่นในทะเลของประเทศไทย โดยในไทยพบว่ามีวาฬบรูด้าอยู่ประมาณ 20–25 ตัว โดยพบห่างจากชายฝั่ง 4–30 กิโลเมตรของทะเลอ่าวไทยวาฬบรูด้ามีรูปร่างเรียวสีเทาอมฟ้า
มีครีบหลังเป็นรูปเคียวโค้งไปทางด้านหลังของลำตัว มีรอยจีบใต้ลำคอขนานกับลำตัวประมาณ 40–70 รอย ความยาวสูงสุดของตัวผู้โตเต็มวัยอยู่ที่ 15 เมตร ตัวเมียอยู่ที่ 16.5 เมตร และน้ำหนักสูงสุดอยู่ที่ 40 ตัน แต่ถึงแบบนั้นอาหารของมันกลับมีขนาดเล็ก คือแพลงก์ตอนของสัตว์จำพวกกุ้ง หมึกกระดอง และฝูงปลาขนาดเล็ก มันมักจะหากินเพียงลำพัง ยกเว้นวาฬเด็กที่ออกหากินกับแม่ โดยวิธีการกินอาหารของมันนั้นจะใช้ซี่กรองขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายตะแกรงที่อยู่บริเวณขากรรไกรบนของมัน กรองสัตว์ขนาดเล็กๆ เป็นอาหาร
โดยวาฬบรูด้าเต็มวัยหนึ่งตัวอาจกินอาหารถึง 590 กิโลกรัมต่อวันปัจจุบันพวกมันถูกคุกคามจากมนุษย์จนมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากปลาและกุ้งขนาดเล็กซึ่งเป็นอาหารของมันมีจำนวนลดลงเพราะมนุษย์ และมนุษย์ยังปล่อยมลพิษทางน้ำ และมลพิษทางเสียงจากการเดินเรือยนต์ บางครั้งมันยังได้รับอุบัติเหตุจากอวนของชาวประมง หรือการขับเรือชนโดยมิได้ตั้งใจอีกด้วย
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌒
22.วาฬโอมูระ (Omura’s whale-1ในว่าที่สัตว์สงวน)
เป็นวาฬสายพันธุ์หายากที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า ถูกค้นพบครั้งแรกจากซากของมันในปี ค.ศ. 2003 และเมื่อพิจาณาจากซากแล้วจึงพบว่ามีความต่างจากวาฬบรูด้า กล่าวคือวาฬโอมูระนั้นมีขนาดเล็กกว่า ตัวผู้ที่โตเต็มวัยยาวเพียง 10 เมตร ตัวเมียยาวเพียง 11.5 เมตร รอยจีบใต้ลำคอมีจำนวนมากกว่า คือ 80–90 รอยจีบ และมีครีบหลังที่สูงกว่าและมีความโค้งน้อยกว่าของวาฬบรูด้า
ความหายากของมันทำให้ไม่ทราบพฤติกรรมชัดเจน และข้อมูลที่อยู่อาศัยของมันในทะเลทั่วโลกยังคงเป็นปริศนา
ระดับความยากในการเจอ :🌑🌑🌑🌑🌑🌑🌑
โดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าฝั่งทะเลอันดามันนั้นจะมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากกว่าส่วนของอ่าวไทยเนื่องจากเป็นด้านที่ทะเลเปิดมากกว่า รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลยังคงมีเยอะกว่า แม้ว่าจะลดลงจากเมื่อก่อนด้วยหลายๆปัจจัยเพราะฉะนั้นหากเรายังคงร่วมมือกันรักษาเอาไว้ไม่ว่าทางใดก็ทางนึง รับรองว่าธรรมชาติจะกลับมาดีขึ้นอย่างแน่นอน
(สั่งซื้ออุปกรณ์ดำน้ำหรือสอบถามทริปดำน้ำสิมิลัน ติดต่อที่ line@monkey dive https://goo.gl/NCmUwp)
留言